วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ชุดคา ส่ังทใ่ีช้ควบคู่กบั ฮาร์ดแวร์มหี น้าทใ่ีนการควบคุม การจดัการ และการดูแลฮาร์ดแวร์เพอ่ืทา ให้ฮาร์ดแวร์มปี ระโยชน์และประสิทธิภาพ ในการใช้งานสูงขนึ้ มคีวามยดืหยุ่นสูง รวมถงึการอา นวยความสะดวก แก่ผู้ใช้ให้สามารถทา งานกบั ฮาร์ดแวร์ได้ง่ายและสะดวกสบาย โดย ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งตามหน้าที่การท างานได้ดังนี้  ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS)  ตัวแปลภาษา (Compiler)  โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)  DOS  Windows 3.11, 95, 98, ME, 2000, XP, Vista  เป็ นซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ ต้องซื้อสิทธิในการใช้ร ะ บ บ ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ ใ น ร ะ ดั บ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซ่ึงเป็นทร่ีู้จักกนั ดใีนช่ือ ของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนา โดยบริ ษั ทไมโคร ซอฟต์ คอ ร์ ปอเ ร ชั น Linux  เร่ิมสร้างโดยลนี ุส โทรวลัด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟิ นแลนด์  เริ่มจากใช้ ระบบปฏิบัติการ Minix เป็ นต้นแบบ  เป็ นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ใช้งานได้ฟรี  ในปัจจุบนั มลีนี ุกส์หลายค่าย เช่น Redhat, Slackware, Debian, LinuxTLE, Burapha Linux Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กับแพร่หลายบนระบบขนาดใหญ่และในปัจจุบันยังมีระบบปฏิบัติการในลักษณะของ Unix-like เกิดขึ้นมากมายและ เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากหลายยิ่งขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เอกสารชุดนี้จึงสรุปคำสั่งบน Unix ที่มักใช้เป็นประจำโดยมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับ DOS/Windows พร้อมกับอธิบายถึงส่วนขยายเพิ่มเติมของคำสั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เริ่มหัดใช้ Unix ทั่วไป Mac OS X  เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) ที่ออกโดยบริษัท Apple จะเป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาแข่งขันกับเครื่อง PC ของ IBM  โดยที่ระบบปฏิบัติการที่ผลิตมาเพื่อเครื่องแมคอินทอชนั้นมีชื่อว่า แมคโอ เอสเอ็กซ์ (Mac OS X)  Mac OS X เริ่มพัฒนาขึ้นจากระบบปฏิบัติการ UNIX เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) ที่ออกโดยบริษัท Apple จะเป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาแข่งขันกับเครื่อง PC ของ IBM  โดยที่ระบบปฏิบัติการที่ผลิตมาเพื่อเครื่องแมคอินทอชนั้นมีชื่อว่า แมคโอ เอสเอ็กซ์ (Mac OS X)  Mac OS X เริ่มพัฒนาขึ้นจากระบบปฏิบัติการ UNIX แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548[2] แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา[3] โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551 ios ไอโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 Symbian ซิมเบียน (อังกฤษ: Symbian) คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Symbian Ltd. โดยออกแบบสำหรับทำงานเฉพาะหน่วยประมวลผล ARM ปัจจุบันมีบริษัทที่ถือหุ้นส่วนอยู่ได้แก่ อีริกสัน (15.6%) โนเกีย (47.9%) พานาโซนิก (10.5%) ซัมซุง (4.5%) ซิเมนส์ (8.4%) และ โซนี อีริกสัน (13.1%) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซิมเบียนเริ่มใช้งานเมื่อในเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2541 Windows Phone วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล[3] แม้ว่าจะขัดกับมัน[4] มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร[5] เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011[6] เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์ ที่มา :http://www.vwin.co.th/linux/basic-commands/http://www.wbi.msu.ac.th/file/1212/doc_41072.949120370447.pdf http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C_(%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน 2.หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น 2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage) เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk ) ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks) ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/ prakopmemory.html

ความหมาย Hardware,software,people ware,datd

a1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงสิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยว กับคอมพิวเตอร์ไม่ว่า จะเป็นตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด(Main board) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้างที่เกี่ยวข้อง 2. ซอฟต์แวร์ (Software)หมายถึงโปรแกรม(Program)หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท(Software) 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่จัดการและควบคุมทรัพยากรต่างๆของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้าน เครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่างๆตั้งแต่ผู้เริ่มใช้เปิดคอมพิวเตอร์ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ ในงานด้านใดด้านหนึ่งโดย เฉพาะตามผู้ใช้ต้องการ 3.(People ware)คือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆและผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในหน่วยงานนั้นบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ นั้นมีความสำคัญมากเพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นต้องมีการ จัดเตรียมเปลี่ยนระบบจัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ 4.(data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ ที่มา : http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202151/10.html

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น 2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ 3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ 4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator) - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager) - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user) 5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน ที่มาhttp://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/179-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) Notebook ปัจจุบันโน้ตบุ๊กถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ Desktop replacement เดสก์ทอปรีเพลสเมนต์: โน้ตบุ๊กประเภทนี้ มีน้ำหนักประมาณ 3-4.5 กิโลกรัม จอภาพมักจะใหญ่กว่าประเภทอื่นๆ มีทั้งที่เป็นแบบสุดหรูฟีเจอร์ครบเครืง ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท สำหรับคนมีงบประมาณเหลือเฟือ และแบบประหยัด ราคาเริ่มที่ 40,000 บาท สำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กราคาสบายกระเป๋าสตางค์มาไว้ในครอบครอง Mainstream เมนสตรีม: โน้ตบุ๊กแบบนี้เหมาะกับนักธุรกิจหรือคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานพอสมควร น้ำหนักประมาณ 1.8-3 กิโลกรัม ราคาประมาณ 48,000-100,000 บาท Ultraportable อัลตร้าพอร์เทเบิล: กลุ่มนี้เน้นความบาง เบา และดีไซน์เฉียบหรูเป็นหลัก น้ำหนักประมาณ 1-1.8 กิโลกรัม ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักธุรกิจที่เน้นเรื่องความสะดวกสบายในการพกพาเป็นหลัก สำหรับสเปกเครื่องควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone - หูฟัง Bluetooth - หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth - แป้นพิมพ์ - Keyboard - ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล - จอยสติ๊ก JoyStick - สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น - อื่นๆ อีกมากมาย PDA Phone, Palm Phone คืออะไร การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์ ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์ โทรศัพท์แบบ Smart PhoneDopod 838 PDA Phone - HTC Smart Phone - Motorola A1000 - Nokia 6680 - O2 XDA II - Samsung i600 - Sony Ericsson P800, P900 ด้วยการทำงานของ Smart Phone ที่มีความหลายหลาย และใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปได้ ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ นั่นคือ ไวรัส ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับไวรัสคอมพิวเตอร์ คงต้องชั่งใจ สักนิด ก่อนเลือกซื้อ ที่มา :https://sites.google.com/site/namchompoonuch/team-schedules

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี3g

•เทคโนโลยี 3G คือ 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution) เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปี 2549 นี้ เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว ที่มาhttp://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/3g/what%203g.html

บริการต่างๆของ Google

SERVICES AND INVESTMENTS BELONGING TO GOOGLE Gmail http://www.gmail.com/ Blogger http://www.blogger.com/ Froogle http://www.froogle.com/ Hello http://www.hello.com/ Orkut http://www.orkut.com/ Picasa http://picasa.google.com/ SketchUp http://www.sketchup.com/ Writely http://www.writely.com/ Google AdWords https://adwords.google.com/select/ Google AdSense https://www.google.com/adsense/ Google Analytics http://google.com/analytics/ Google Answers http://answers.google.com/ Google Base http://base.google.com/ Google Blog Search http://blogsearch.google.com/ Google Bookmarks http://www.google.com/bookmarks/ Google Books Search http://books.google.com/ Google Calendar http://google.com/calendar/ Google Catalogs http://catalogs.google.com/ Google Code http://code.google.com/ Google Deskbar http://deskbar.google.com/ Google Desktop http://desktop.google.com/ Google Directory http://www.google.com/dirhp Google Earth http://earth.google.com/ Google Finance http://finance.google.com/ Google Groups http://groups.google.com/ Google Images http://images.google.com/ Google Labs http://labs.google.com/ Google Local http://local.google.com/ Google Maps http://maps.google.com/ Google Mars http://www.google.com/mars/ Google Mobile http://mobile.google.com/ Google Moon http://moon.google.com/ Google Movies http://www.google.com/movies Google Music http://www.google.com/musicsearch Google News http://news.google.com/ Google Pack http://pack.google.com/ Google Page Creator http://pages.google.com/ Google Personalized Home http://www.google.com/ig Google Personalized Search http://labs.google.com/personalized Google Reader http://www.google.com/reader Google Scholar http://scholar.google.com/ Google Search History http://www.google.com/searchhistory Google SMS http://www.google.com/sms/ Google Suggest http://www.google.com/webhp?complete=1 Google Talk http://talk.google.com/ Google Toolbar http://toolbar.google.com/ Google Transit Trip Planner http://www.google.com/transit Google Translate http://www.google.com/translate_t Google Video http://video.google.com/ Google Web Accelerator http://webaccelerator.google.com/ Google Web API http://www.google.com/apis/ Google Web Search http://www.google.com/ FUN GOOGLE SERVICES Pigeon Rank http://www.google.com/technology/pigeonrank.html Mentalplex http://www.google.com/mentalplex/ Moonbase Google http://www.google.com/jobs/lunar_job.html Google Gulp http://www.google.com/googlegulp/ Google Romance http://www.google.com/romance/ Other Google Sitemaps https://www.google.com/webmasters/sitemaps/ Google Holiday Logos http://www.google.com/intl/en/holidaylogos.html Google Zeitgeist http://www.google.com/press/intl-zeitgeist.html Google Jobs http://www.google.com/intl/en/jobs/ Google University http://www.google.com/options/universities.html Blog for services Google Code http://code.google.com/ Official Google Blog http://googleblog.blogspot.com/ Adwords API http://adwordsapi.blogspot.com/ Blogger Buzz http://buzz.blogger.com/ Google Base http://googlebase.blogspot.com/ Google Enterprise http://googleenterprise.blogspot.com/ Google Maps API http://googlemapsapi.blogspot.com/ Google Reader http://googlereader.blogspot.com/ Google Research http://googleresearch.blogspot.com/ Google Talk http://googletalk.blogspot.com/ Google Video http://googlevideo.blogspot.com/ Inside AdSense http://adsense.blogspot.com/ Inside AdWords http://adwords.blogspot.com/ Inside Desktop http://googledesktop.blogspot.com/ Inside Sitemap http://sitemaps.blogspot.com/ ที่มา : http://thebunwangs.blogspot.com/2010/01/google-services.html http://sites.google.com/site/thebunwangs/bthkhwam/brikartang%C2%ABkhxngkukeilnilokni

FTp (file transfer protocol)

FTP คืออะไร FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป 2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน ความสำคัญของ FTP โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง ที่มา http://com.d-ja.com http://th.easyhostdomain.com http://simplemachines.in.th

E-mail

E-mail หมายถึง ย่อมาจาก electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอม พิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้ ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ .com = commercial บริการด้านการค้า .edu = education สถานศึกษา .org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร .gov = government หน่วยงานรัฐบาล .net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย ตัวอย่าง e-mail address stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th ที่มา http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/e-mail

Game Online กับการศึกษา

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราคงได้ยินข่าวการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2548 ให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ คือ Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร ความรู้ที่ได้ไม่ใช่ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ความรู้ที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสังคมวิทยาด้านต่างๆ ได้อีกด้วย ก่อนหน้านี้ในปี 1994 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ให้กับ John Nash , John Harsanyi และ Reinhart Selten ที่ได้ศึกษาเรื่องของ Game Theory (ถ้ายังจำได้มีการสร้างภาพยนตร์ชีวิตของ John Nash เรื่อง A Beautiful Mind) ข่าวที่ปรากฏออกมาเรื่องของ Game Theory ทำให้ผู้เขียนคิดถึงการใช้ Game Theory เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา ซึ่งการใช้ Game Theory เพื่อการศึกษานั้นมีการศึกษากันมานานแล้ว แต่การใช้ Game Theory กับการศึกษามีความแตกต่างจากการใช้ในสาขาอื่นๆ ตรงที่วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการใช้ Game Theory เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นไม่ใช่ใช้เฉพาะ Game Theory แล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ แต่จำเป็นต้องมีการใช้หลายๆ ทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการรับรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นต้น นั้นหมายความว่าก่อนการใช้เกมใดๆ ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องผ่านการออกแบบลักษณะของเกมโดยยึดตามหลักทฤษฎี ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกมเพื่อการศึกษาจะต่างกับเกมในท้องตลาดทั่วไปตรงเกมในท้องตลาดที่วัตถุ ประสงค์หลักเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่เกมการศึกษาเน้นส่วนของการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นเกมที่มีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนและใช้เวลามากใน การสร้างและพัฒนา เพื่อที่จะสามารถสร้างสภาพของเกมตามหลักของ Game Theory และสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ปัจจุบันมีการสร้างเกมเพื่อการศึกษามากขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกันคือ การนำเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียน เรียนนำเข้าไปแทรกในเกมต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนได้เล่นเกมโดยเชื่อว่าความรู้หรือเนื้อหานั้นจะส่งผ่านไปยัง ผู้เรียนได้ จนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ในที่สุด โดยใช้เกมที่มีรูปแบบเดียวกันใช้สอนเนื้อหาที่ต่างกันเพื่อความง่ายในการ สร้างและสะดวก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารูปแบบเกมแบบเดียว สามารถใช้กับเนื้อหาที่แตกต่างกันได้จริงหรือ ได้มีผู้ศึกษาลักษณะของเกม โดยแบ่งจุดประสงค์ของการเรียนรู้กับรูปแบบเกมที่เหมาะสม ดังนี้ (เกมคอมพิวเตอร์) จุดประสงค์การเรียน ลักษณะของเกม รูปแบบเกม 1. ความจำ ความคงทนในการจำ ชุดของเนื้อหาและแบบประเมิน เกมแบบฝึกหัด,Quiz, เกม Puzzle ต่างๆ 2. ทักษะ การกระทำ มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ การเลียนแบบ ผลป้อนกลับและมีตัวแปรด้านเวลา เกม Simulation ต่างๆ เช่น เกมยิง, เกมขับรถ เป็นต้น 3. ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ กฎและขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ มีเงื่อนไขในการกระทำ เช่น เกมกีฬา,action 4. ตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว สามารถแสดงผลการกระทำได้ในทันที Real Time เกมวางแผน, เกมผจญภัย, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา) 5. การอยู่ร่วมกับสังคม เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร การเล่าเรื่องแล้วมีทางเลือก เกมวางแผน, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา) จากตารางพบว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน เกมที่ใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย ผู้เขียนเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการเลือกออกแบบเกมที่เหมาะ สมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการได้ และที่สำคัญทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับเกิดการเรียนรู้ได้จริงๆ ที่มา http://www.l3nr.org/posts/310067

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น 1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา 1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 1.3.4 ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ 1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสารการเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง ที่มา https://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

ตรวจลอตเตอร์รี่ การติดต่อสื่อสารหากัน ดูข่าวการเมืองข่าวบันเทิงข่าวกีฬา เลือกซื้อสิ้นค้า ตรวจสอบผลการเรียน ลงทะเบียนเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ครูนายูลา : 2008) ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/179976

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือภาพก็ได้ ข้อมูลควรจะเป็นสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นความจริง สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ที่มา http://www.l3nr.org/posts/262749

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอรืหมายถึงอุปกรณ์อิเล้กทรอนิกที่มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือcp เท็บเลต โน๊ตบุ๊ก หรือสมาทร์โฟน